หน่วยที่ 8  เครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัล
1. เทคโนโลยีดิจิทัล
เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) หมายถึง การใช้ระบบดิจิทัล ในการนำเครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ใน
การสื่อสาร การปฏิบัติงานหรือพัฒนาการทำงาน ระบบงานในองค์กรให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ  ซึ่งปัจจุบันโลกเราได้เปลี่ยน
จากยุคอนาล็อก (Analog) เข้าสู่ยุคดิจิทัล (Digital) อย่างรวดเร็วสังเกตได้จากเครื่องมือที่อยู่รอบตัวเรา เช่น กล้องถ่ายรูป จากเคยบันทึกภาพด้วยฟิล์มก็เปลี่ยนมาบันทึกภาพด้วยระบบดิจิทัล  ระบบดิจิทัลทำให้เกิดความสะดวกสบายในชีวิตมากขึ้นซึ่งจริงๆ แล้ว
ระบบดิจิทัลเป็นการรวมอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ความต้านทาน  ตัวเก็บประจุ  ทรานซิสเตอร์ และวงจรรวมไว้ด้วยกันทำหน้าที่ประมวลสัญญาณที่เข้ามาให้มีคุณลักษณะตรงตามที่ต้องการแล้วส่งออกไปในยุคแรกของระบบดิจิทัลมี
ขนาดของระบบที่ใหญ่มาก เพราะใช้คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ต่อมาวิวัฒนาการด้าน IC มีการพัฒนาไปมาก ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
ประมวลผลได้เร็วขึ้น จึงทำให้ระบบดิจิทัลได้รับความนิยมมากขึ้นและมีข้อดีกว่าระบบอนาล็อกหลายข้อ เช่นสัญญาณรบกวนที่มีน้อยกว่า 
 ความผิดพลาดในการแปลงสัญญาณน้อยมาก  ความคมชัดดีกว่า สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า และเก็บรักษาข้อมูลได้นานกว่า มีความปลอดภัยยากต่อการถอดรหัส  โดยในงานอุตสาหกรรมใช้เครื่องมือวัดที่มีการแสดงค่าด้วยสเกลมีเข็มชี้เรียกว่าเครื่องวัดระบบอนาล็อก
(Analog Instrument) นานแล้ว และต่อมาได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องให้สามารถแสดงค่าออกมาเป็นตัวเลขบนหน้าจอระบบดิจิทัล
(Digital Instrument) ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาให้เครื่องมือวัดใช้งานง่าย มีความน่าเชื่อถือและเที่ยงตรงสูง  ทำให้สถานประกอบการหลาย
แห่งนำเครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัลเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาการทำงานเช่น นำไมโครมิเตอร์ดิจิทัล  เกจหน้าปัดดิจิทัล มาใช้เป็นต้น  

2. เครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัล
เครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัล (Digital measuring tools) เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่ได้รับความนิยมในงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่มีหลายแบบเช่น
  2.1 เวอร์เนียร์คาลิเปอร์ดิจิทัล (Vernier digital caliper) เวอร์เนียร์คาลิเปอร์ดิจิทัลอ่านค่าได้ง่ายการใช้งานไม่ยุ่งยากและ
ที่สำคัญสามารถอ่านค่าที่วัดได้โดยดูจากหน้าจอแสดงผลซึ่งจะแสดงผลออกมาเป็นตัวเลขพร้อมหน่วยอย่างชัดเจน ทำให้มีโอกาส
ผิดพลาดน้อยมาก ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาแก้ไขในข้อจำกัดที่ต้องใช้ถ่านนาฬิกาในการใช้งาน โดยมีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในบางรุ่นเพื่อ
แก้ไขปัญหาเมื่อถ่านหมดก็จะสามารถใช้งานต่อไป ได้อีกระยะหนึ่ง

https://1.bp.blogspot.com/-pwdyGyoJ9rM/Xw1SVuBjhAI/AAAAAAAAJ-Q/r1GQc830s8gke-5By04xclwLlViJGvSwgCLcBGAsYHQ/s640/m8.1.png
ภาพ 8.1  เวอร์เนียร์คาลิเปอร์ดิจิทัล

        2.2 ไมโครมิเตอร์ดิจิทัล (Digital micrometer)
ไมโครมิเตอร์ดิจิทัลเป็นนวัตกรรมล่าสุดในไมโครมิเตอร์  สามารถที่จะวัดได้อย่างแม่นยำมากบางรุ่นสามารถวัดได้ถึง 0.0005 inches และ 0.001 mm ไมโครมิเตอร์ดิจิทัลสร้างขึ้นจากระบบอิเล็กทรอนิกส์และอ่านค่าบนจอแสดงผล LCD ซึ่งสามารถแสดงผลการอ่าน
ค่าได้อย่างรวดเร็ว โดยบางรุ่นมีการเชื่อมต่อข้อมูลส่งออกไปเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และสามารถเก็บบันทึกข้อมูลได้  ไมโครมิเตอร์เป็น
เครื่องมือที่สมบูรณ์แบบ มีขนาดเล็กมีความถูกต้องสูงใช้วัดเพื่อตรวจสอบความยาวและขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางด้านนอกของชิ้นส่วนระหว่าง
ไมโครมิเตอร์ดิจิทัลกับไมโครมิเตอร์แบบอนาล็อกไม่แตกต่างกันมากในด้านความถูกต้องแต่มีความแตกต่างกันในการแสดงผลบน
หน้าจอที่ไมโครมิเตอร์ดิจิทัลแสดงผลได้รวดเร็วกว่า

https://1.bp.blogspot.com/-_ajP7QyrMoY/Xw1SdXZRGnI/AAAAAAAAJ-U/ui_YCFWzZpQwQD7owtKRrrawlFDFc76wwCLcBGAsYHQ/s640/m8.2%2B%25282%2529.png

ภาพ 8.2  ไมโครมิเตอร์ดิจิทัล

ส่วนประกอบของไมโครมิเตอร์ดิจิทัลมีดังนี้
            1. โครงไมโครมิเตอร์ เป็นโครงสร้างหลักของไมโครมิเตอร์
            2. แกนรับ มีหน้าที่รองรับและสัมผัสกับชิ้นงานที่ต้องการวัด
            3. แกนวัด มีหน้าที่เลื่อนเข้าสัมผัสกับชิ้นงานที่ต้องการวัด
            4. ปุ่มปรับล็อก มีหน้าที่ล็อกแกนวัดไม่ให้เคลื่อนที่
            5. ปลอกหมุน มีหน้าที่หมุนให้สัมผัสชิ้นงานที่ต้องการวัด
            6. ช่องส่งข้อมูลออก ใช้สำหรับส่งข้อมูลออกไปแสดงผลกับระบบคอมพิวเตอร์
            7. หน้าจอแสดงผล ใช้สำหรับอ่านค่าที่วัดได้
            8. ปุ่ม HOLD ใช้สำหรับกดเพื่อบันทึกค่าให้ค้างไว้ที่หน้าจอกรณีไม่สามารถอ่านค่า ณ จุดที่วัดได้
            9. ปุ่ม ZERO/ABS ใช้สำหรับปรับศูนย์หรือเปลี่ยนหน่วยการวัด
            10. ปุ่ม ORIGIN ใช้สำหรับตั้งค่าเริ่มต้นการวัด
            11. ฉนวนกันความร้อน
          2.3 เกจหน้าปัดดิจิทัล (Digital dial gauge)
เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่มีความเที่ยงตรงและความแม่นยำสูง นิยมใช้ในการวัดขนาดชิ้นส่วนวัดระยะช่องว่างตรวจวัดความคด ของเพลา
ข้อเหวี่ยง  เพลาลูกเบี้ยวเป็นต้น     เพื่อเปรียบเทียบขนาดรูปร่างและตำแหน่งของผิวงานตรวจสอบความคลาดเคลื่อนที่ผิดไปจากขนาดเดิมตรวจสอบความกลมหรือความเรียว
ของเพลา ซึ่งปัจจุบันเกจหน้าปัดดิจิทัลบางรุ่นสามารถวัดค่าได้ละเอียดถึง 0.001 mm

https://1.bp.blogspot.com/-KUN3l8MpNVI/Xw1SiZqFEyI/AAAAAAAAJ-Y/nHNR2fZJaKMNa5DXlW-Veo_wLwGI68A6wCLcBGAsYHQ/s400/m8.3.png

ภาพ 8.3  เกจหน้าปัดดิจิทัล

ส่วนประกอบของเกจหน้าปัดดิจิทัลมีดังนี้
1. หัววัด มีหน้าที่สัมผัสกับชิ้นงานที่ต้องการวัดหรือตรวจสอบ
2. แกนเลื่อน มีหน้าที่จับยึดหัววัด เมื่อหัววัดถูกดันเลื่อนขึ้นลงสัมผัสผิวของชิ้นงาน
3. ก้านสำหรับจับยึด มีหน้าที่จับยึดกับแท่นยึดเกจหน้าปัดในการใช้งานหรือตรวจวัดชิ้นงาน
         4. ปุ่ม ON/OFF ใช้สำหรับเปิด/ปิดเครื่อง
         5. ปุ่ม ORIGIN ใช้สำหรับตั้งค่าเริ่มต้นการวัด
         6. หน้าจอแสดงผล ใช้สำหรับอ่านค่าที่วัดได้
        
2.4 มัลติมิเตอร์ดิจิทัล (Digital Multi meters) 
มัลติมิเตอร์ดิจิทัล เป็นเครื่องมือวัดไฟฟ้าที่สามารถวัดปริมาณไฟฟ้าได้หลายอย่าง เช่น วัดกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า ความต้านทาน แบตเตอรี่
ไดโอด อุณหภูมิ วัดความต่อเนื่องของวงจร  และแสดงค่าที่วัดได้ด้วยระบบดิจิทัลบนหน้าจอแสดงผล 

 https://1.bp.blogspot.com/-ZVcsYictf0k/Xw1Snky4nFI/AAAAAAAAJ-g/gbI2FbPwDPI5Iq3CFFgKZlBi2SLIiHy6gCLcBGAsYHQ/s640/m8.4.png
ภาพ 8.4 มัลติมิเตอร์ดิจิทัล
3. การใช้และการบำรุงรักษาเครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัล
    3.1 การใช้และการบำรุงรักษาเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ดิจิทัล
3.1.1 ศึกษาคู่มือรายละเอียดการใช้โดยละเอียด
3.1.2 กดปุ่ม ON/OFF เพื่อเปิดเครื่อง
3.1.3 กดปุ่มเลือกหน่วยวัดให้ถูกต้องเหมาะสมกับงานที่ตรวจวัด
3.1.4 วัดขนาดของชิ้นงานและอ่านค่าที่จอแสดงผล
3.1.5 เมื่อใช้งานเสร็จแล้วให้กดปุ่มรีเซ็ท (Reset) และกดปุ่มปิดเครื่อง
3.1.6 ทำความสะอาดจัดเก็บเครื่องมือวัสดุและอุปกรณ์
3.1.7 เก็บเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ดิจิทัลแยกต่างหาก ห้ามเก็บปะปนกับเครื่องมือชนิดอื่น
3.1.8 ไม่ควรเก็บเวอร์เนียร์คาลิเปอร์ดิจิทัลในที่เย็นจัดหรือร้อนจัดเกินไป
    3.2 การใช้และการบำรุงรักษาไมโครมิเตอร์ดิจิทัล
3.2.1 ศึกษาคู่มือรายละเอียดการใช้โดยละเอียด
3.2.2 กดปุ่ม ON/OFF เพื่อเปิดเครื่อง
3.2.3 กดปุ่มเลือกหน่วยวัดให้ถูกต้องเหมาะสมกับงานที่ตรวจวัด
3.2.4 วัดขนาดของชิ้นงานและอ่านค่าที่จอแสดงผล
3.2.5 เมื่อใช้งานเสร็จแล้วให้กดปุ่ม ZERO และกดปุ่มปิดเครื่อง ON/OFF
3.2.6 ทำความสะอาดจัดเก็บเครื่องมือวัสดุและอุปกรณ์
3.2.7 เก็บไมโครมิเตอร์ดิจิทัลแยกต่างหาก ห้ามเก็บปะปนกับเครื่องมือชนิดอื่น
3.2.8 ไม่ควรเก็บไมโครมิเตอร์ดิจิทัลในที่เย็นจัดหรือร้อนจัดเกินไป
    3.3 การใช้และการบำรุงรักษาเกจหน้าปัดดิจิทัล
3.3.1 ศึกษาคู่มือรายละเอียดการใช้โดยละเอียด
3.3.2 ประกอบเกจหน้าปัดเข้ากับแท่นยึด จากนั้นติดตั้งเกจหน้าปัดกับชิ้นงานที่จะตรวจวัด
3.3.3 กดปุ่ม ON/OFF เพื่อเปิดเครื่อง
3.3.4 วัดขนาดของชิ้นงานและอ่านค่าที่จอแสดงผล
3.3.5 เมื่อใช้งานเสร็จแล้วให้กดปุ่ม ORIGIN และกดปุ่มปิดเครื่อง ON/OFF
3.3.6 ทำความสะอาดจัดเก็บเครื่องมือวัสดุและอุปกรณ์
3.3.7 เก็บเกจหน้าปัดดิจิทัลแยกต่างหาก ห้ามเก็บปะปนกับเครื่องมือชนิดอื่น
3.3.8 ไม่ควรเก็บเกจหน้าปัดดิจิทัลในที่เย็นจัดหรือร้อนจัดเกินไป
    3.4 การใช้และการบำรุงรักษามัลติมิเตอร์ดิจิทัล
3.4.1 ศึกษาคู่มือรายละเอียดการใช้โดยละเอียด
3.4.2 เปิดเครื่องและเลือกย่านวัดให้เหมาะกับงาน เช่น ถ้าวัดแบตเตอรี่ให้เลือกย่าวัดที่ 20V  ถ้าวัดความต้านทานให้เลือกย่านวัด 
3.4.3 ใช้สายวัดสีแดงเสียบเข้าที่ขั้วต่อขั้วบวก (+) และสายวัดสีดำเสียบเข้าที่ขั้วลบ (-)
3.4.4 ปรับปุ่มเลือกพิสัยการวัดให้ถูกต้อง
3.4.5 วัดชิ้นงานและอ่านค่า
3.4.6 ปิดเครื่อง จากนั้นถอดสายวัดสีแดงและสีดำออกจากมัลติมิเตอร์ดิจิทัล
3.4.7 ทำความสะอาดจัดเก็บเครื่องมือวัสดุและอุปกรณ์
3.4.8 เก็บมัลติมิเตอร์ดิจิทัลแยกต่างหาก ห้ามเก็บปะปนกับเครื่องมือชนิดอื่น
3.4.9 ไม่ควรเก็บมัลติมิเตอร์ดิจิทัลในที่เย็นจัดหรือร้อนจัดเกินไป

4. ข้อดีและข้อเสียของเครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัล
4.1 ข้อดีของเครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัล
4.1.1 สามารถอ่านค่าได้อย่างรวดเร็วเก็บผลการวัดได้ง่าย
4.1.2 สามารถอ่านค่าเป็นตัวเลขได้เลยไม่ต้องคิดคำนวณหรือบวกค่าที่ได้จากการวัด
4.1.3 มีค่าความละเอียดสูงและมีความแม่นยำสูง
4.2 ข้อเสียของเครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัล
4.2.1 ราคาแพง 
4.2.2 ต้องใช้แบตเตอรี่ซึ่งบางรุ่นหายากและราคาแพง
4.2.3 ต้องระวังเรื่องความชื้นและสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนการทำงาน
4.2.4 ตัวเลขจะเปลี่ยนตามความละเอียดของเครื่องมือ  บางครั้งตัวเลขหลักสุดท้าย
กระพริบกลับไปกลับมาระหว่าง 2 ค่าอาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการอ่านได้
4.2.5 ไม่สามารถดูค่าพิกัดได้ง่ายและรวดเร็วเหมือนเครื่องมือวัดอนาล็อก (Analog)
4.2.6 ไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองได้ต้องพึ่งพาอาศัยแหล่งพลังงานอื่นในการใช้งาน
เช่น อาศัยถ่านหรือแบตเตอรี่

5. การอ่านค่าเครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัล
         การอ่านค่าเครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัล จะคล้ายกันและอ่านง่าย คือสามารถอ่านค่าที่หน้าจอแสดงผลได้ทันที สามารถอ่านค่าพร้อมหน่วยที่เป็นตัวเลขจากหน้าจอ ดังภาพ 8.5 อ่านค่า
เวอร์เนียร์คาลิเปอร์ดิจิทัลได้ 10.60 mm และอ่านค่าไมโครมิเตอร์ดิจิทัลได้ 4.583 mm

https://1.bp.blogspot.com/-9pVmmIr8Om4/Xw1S_rrn1mI/AAAAAAAAJ-4/1KuXt1TCZKACYeQTwVF5fdVr--zV7VTPgCLcBGAsYHQ/s640/m8.5.png
ภาพ 8.5 ตัวอย่างการอ่านค่าเครื่องมือวัดละเอียดดิจิทัล

hit counter